TOYOTA BYD DMI

TOYOTA ติดปีก 2025 HILUX เจนเนอเรชั่นใหม่ ต่อยอดแพลตฟอร์ม BYD ซุ่มพัฒนาโหมดไฟฟ้าขับทะลุ 200 กิโลเมตร

TOYOTA ติดปีก เดินทางลัด เตรียมใช้แพลตฟอร์มของ BYD สำหรับรถยนต์รุ่นใหม่บางรุ่นในอนาคต มีลุ้นใช้กับ HILUX เจนเนอรชั่นใหม่ ผู้บริหารเผย กำลังพัฒนาต่อยอดระบบ PLUGIN-HYBRID ให้ได้ระยะทางวิ่ง 200 กิโลเมตรในโหมดไฟฟ้า เหนือกว่า BYD SHARK

แม้ว่าจะถูกปรามาสมาโดยตลอดว่า บรีษัทตกชบวนการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ด้วยความเป็นพี่ใหญ่ในวงการยานยนต์โลก toyota มักจะมีทางออกให้กับตัวเองอยู่เสมอ ล่าสุด จากการรายงานของ caijing สื่อด้านทางเงินของจีนระบุ โดยอ้างอิงจากแหล่งข่าวภายใน toyotaว่า บรษัทร่วมมือกับ byd ในการเตรียมนำเอาระบบ plug-in hybrid DM-i platformของยักษ์ใหญ่จากจีนมาใช้กับรถยนต์ phev 3รุ่นใหม่ใน 3ปีข้างหน้าที่ประเทศจีน และจะเลิกใช้ระบบ THS (Toyota Hybrid System ของตัวเอง กับรถไฮบริดรุ่นใหม่ๆ เพราะไม่สามารถทำการชาร์จไฟได้ ที่สำคัญระบบดังกล่าวไม่สามารถจดทะเบียนในประเทศจีนได้ ทำให้ไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล หรือไดัรับสิทธิพิเศษใดๆเหมือนรถยนต์ phev หรือ bev อื่นๆในจีน

ก่อนหน้านี้ toyota ได้เคยเปิดตัวระบบ e+plugin hybrid สำหรับรถยนต์รุ่น corolla levin และ rav4 ในประเทศจีนมาก่อนแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ในอนาคต จะใช้ระบบที่ต่างออกไปจากนี้

จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีการยืนยันรายงานข่าวดังกล่าวจากทั้ง toyota หรือ byd แต่แหล่งข่าววงในยืนยันว่า เทคโนโลยี DM-i ของ BYD จะถูกนำมาใช้อย่างแน่นอน ซึ่งทาง toyota จะนำมาปรับแต่งใหม่ และให้ประสบการณ์การขับขี่ที่แตกต่างออกไป โดยคำว่า DM-i ย่อมาจาก dualmode-intelligent เปิดตัวครั้งแรกในปี 2008 ให้ระยะทางกาขับขี่รวมสูงสุด 2000 กมตามมาตรฐาน CLTC อัตราการบริโภคน้ำมันอยู่ที่34.5 กม/ลิตร โดยระบบนี้มี 2 เวอร์ชั่นคือ DM-i ที่้เน้นในเรื่องประสิทธิภาพการขับขี่และDM-p ที่ใช้่ระบบขับเคลื่อนอบบ AWD และการขับขี่ off-road และล่าสุด BYD ก็เพิ่งเปิดตัวแพลตฟอร์ม DMO ที่ถูกออกแบบมาใช้กับการขับออฟโรดระดับ hardcore โดยเฉพาะ ซึ่งไดนำไปใช้กับรถเอสยูวีใหม่รุ่น Fang cheng Baoไปแล้ว อละเป็นไปได้สูงว่าถูกพัฒนามาจากแพลตฟอร์ม DMp

ที่ผ่านมา Toyota มีความร่วมมือกํบ BYD อย่างเข้มข้น ในปี 2021 ทั้งสองบริษัท ได้ลงนามความร่วมมืvพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าร่วมกันในสัดส่วน 50:50 ในปี 2023 ได้พัฒนาซีดานไฟฟ้ารุ่น bz3 ร่วมกัน โดย BYD รับผิดชอบในการจัดหาLFP blade battery มอเตอร์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีบางอย่าง นอกจาก BYD แล้ว TOYOTA ยังมีความร่วมมือกับอีกสองบริษัทจากจีนอย่าง First Automobile Works และ GAC

ภายใต้ความกดดันในเรื่องการทำสงครามราคา กับคู่แข่งจากจีน การบริหารต้นทุนจึงเป็นเรื่องที่TOYOTAให้ความสำคัญ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ TOYOTA ต้องการใช้เทคโนโลยี DMi ของ BYD ก็คือ ต้นทุนที่ต่ำ และความเสถียรของเทคโนโลยี จากการเปิดเผยของแหล่งข่าวภายใน TOYOTA

แม้ว่าจะไม่มีมีการพูดถึงขอบเขตของตลาดว่า จะมีมากกว่าจีน หรือครอบคลุมรถยนต์รุ่นใดบ้าง แต่ด้วยรูปการณ์ล่าสุด และระดับความสัมพันธ์ระหว่าง TOYOTA และ BYD ทำให้มีความเป็นไปได้เช่นกันในอนาคต ที่ TOYOTA อาจจะนำแพลตฟอร์ม DMO มาใช้กับรถยนต์รุ่นอื่นๆด้วย เช่น Hilux ที่ BYD ใช้กับshark รถกระบะรุ่นแรกของบริษัทที่ใช้ระบบ PHEV ที่ได้เปิดตัวไปแล้วในวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมาในประเทศเม็กซิโก และถือว่ายังเป็นจุดอ่อนของ TOYOTA อยู่

ซึ่งหาก BYShark ตอบโจทย์ตลาดได้ดี เราก็อาจจะได้เห็นแพลตฟอร์ม DMO ของ BYD ใน HILUX ด้วยอีกรุ่นหนึ่งจากการรายงนของสื่อยายนต์ของอสเตรเลีย carsguide ที่มีการสัมภาษณ์ Sean Hanley รองประธานฝ่ายขายและารตลาดของ TOYOTA Australia โดยนอดจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยโดยสื่อจีนในตอนต้นแล้ว Hanley ยังเสริมอีกว่า ท่าที่เขาทราบ ตอนนี้ได้เริ่มมีการพัฒนากับ HilUXรุ่น PLUG-IN HYBRID ไปแล้ว

โดยเทคโนโลยีที่ว่าจะเปลี่ยนการขับขี่ที่ไม่สะดวกสบายให้กลายเป็นการขับขี่ที่มีความสะดวกสบายขั้นสุด เขายังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า เทคโนโลยีแบตเตอรี่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากเราสามารถไปถึงจุดที่ ระบบ Plug-in Hybrid ให้ระยะทางการขับขี่ในโหมดไฟฟ้าที่ 200 กิโลเมตรขึ้นไป ทำให้ Hiluxสามารถขับขี่ในเมืองได้สบายๆและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ทำให้เหลือข้อสงสัยในเรื่่องสมรรถนะในการลากจูงโหลด ซึ่งถึงเวลานั้น รถระบบ PHEV จะสามารสร้างฐานลูดค้าใหม่ขึ้นมาเองได้ อย่างที่เขาบอกไปแล้วว่า มันจะเปลี่ยนความไม่สะดวกสบายไปเป็นความสะดวกสบายสูงสุด สื่อออสเตรเลียถามต่อไปตรงๆว่า Toyota กำลังพัฒนาระบบ phev ที่ให้ระยะทางการขับขี่ในโหมดไฟฟ้าที่ 200 กิโลเมตรอยู่หรือไม่ Hanley ตอบว่า แน่นอน รากำลังพฒนาอยู่ อละมันจะสะท้อนใน 2 เรืื่อง คือ มันใช้งานได้จริง อละตอบโจทย์ในวิ่งที่ลูกค้าต้ิองการ และมันเป็นไปได้ที่ BYD จะช่วยทำให้เราให้เห็นภาพของ Hilux PHEV ว่าจะออกมาประมาณไหนในเรื่องของการใช้งานได้จริงที่มาพร้อมรบบขับเคลื่ิอนที่ใช้เครื่องยนตเบนซิน 4 สูบ ความจุ 1.5 ลิตร จับคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัวที่ล้อหลัง

BYFSHARK มาพร้อมแพลตฟอร์ม DM-O ที่เป็นระบบขับเคลื่อน Plug-in hybridที่ใช้เครื่องบนต์เบนซินความจุ 1.5 ลิตร ให้กำลังรวมสูงสุดรวม 430 แรงม้า สามารถทำ 0-100 ได้ภายใน 5.7 วินาที ในโหมดไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ระยะทางไกลสูงสุด100 กิดลเมตรตามมาตรฐาน NEDCใช้เวลาในการชาร์จเพียง 20 นาทีใฟ้แบตเตอรี่ที่มีความจุ 30%เพิ่มขึ้นไปเป็น 80% ได้

จากข้อมูลเบื้องต้น เราพอจะอนุมานได้ว่า HILUX เจนเนอเรชั่นใหม่น่าจะมีทางเลือกที่เป็นระบบ PHEVค่อนข้างแน่นอน แลอาจจะใช้แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งของของ BYD ไม่ว่าจะเป็น DMI หรือ DMO ซึ่งหาก TOYOTA สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้ได้ระยะทางการขับขี่ในโหมดไฟฟ้าที่ 200 กิโลเมตร ก็ต้องถือว่าน่าสนใจ และถือว่าคุ้มที่ต้ิองยอมลดศักดิ์ศรีหันไปพึ่งคู่แข่งสำคัญอย่าง BYD อีกครั้ง