อย่างที่เราได้เคยนำเสนอ ในเรื่องสถานการณ์ยอดขายของ Nissan Navara ในเมืองไทย ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ว่าตัวเลขยอดขายล่าสุด ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีเพียง 662 คันเท่านั้น น้อยกว่าอันดับ 1 อย่าง Isuzu D-MAX เกือบ 18 เท่าตัว และเมื่อดูยอดขายสะสมใน 4 เดือนแรกของปี จะพบว่า ยอดขายของ Navara มีเพียง 2,739 คันเท่านั้น คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด ที่ 2.4% ในขณะที่ Isuzu D-MAX มียอดขายสะสมใน 4 เดือนแรกนำโด่ง ที่ 51,947 คัน หรือคิดเป็น 19 เท่า ของยอดขาย Navara ทั้งๆที่ชื่อชั้น และระยะเวลาในการทำตลาดในเมืองไทย ก็ถือว่าไม่ได้แตกต่างกันนัก ที่สำคัญก็คือ Navara เป็นรุ่นรถยนต์ ที่ขายดีเป็นอันดับ 2 ของบริษัท รองจาก Almera เท่านั้น การที่รถยนต์รุ่นสำคัญ และทำตลาดในเมืองไทยมาอย่างยาวนาน อย่าง Navara มียอดขายเพียงน้อยนิด น่าจะสร้างความวิตกกังวลให้กับทาง Nissan ไม่น้อย แต่ที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคน ก็อาจจะสงสัย หรือตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมเรามักจะไม่ได้เห็นกิจกรรมทางการตลาด หรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์รถยนต์รุ่นนี้ เหมือนกับคู่แข่งรายอื่นๆ ตามที่เราได้เคยกล่าวถึงประเด็นนี้แล้ว ในคลิปก่อนๆ ซึ่งก็มีผู้ชมช่องของเราหลายท่าน มองเห็นปัญหานี้เช่นกัน และวันนี้ เราจะมาเปิดเผยหลักฐานล่าสุด ที่น่าจะช่วยคลายข้อสงสัยว่า ทำไม Nissan จึงไม่ค่อยจะมีกิจกรรมทางการตลาด มากเท่าที่ควรจะเป็น รวมถึงการออกนโยบายใหม่ ที่จะไม่มีการลดราคาสินค้าลง แต่จะใช้การแจกแถมสินค้า หรือบริการอื่นใดทดแทน
ทีมงาน CarDebuts ได้ทำการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน ของบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำ
กัด ในปี 2563 และย้อนหลังไปอีก 5 ปี โดยพบว่า รายได้ของบริษัทในปีดังกล่าว อยู่ที่ 107,465 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า ราว 29,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ที่ 135,960 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ในปีที่ไม่ปกติที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 เพราะแต่ละค่ายรถยนต์ มียอดขายลดลงกันอย่างถ้วนหน้า แต่เรื่องที่น่าตกใจก็คือ ในปี 2563 ผลประกอบการของบริษัท ออกมาเป็นลบ โดยขาดทุนถึง 7,212 ล้านบาทเลยทีเดียว ถือว่าเป็นยอดการขาดทุน ที่สูงมากที่สุดปีหนึ่งของบริษัท อย่างไรก็ตาม การขาดทุนมหาศาลระดับนี้ อาจจะเกิดจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาก ในการลงทุนเพิ่มเติม เช่น การขยายโรงงาน การสร้างสำนักงานแห่งใหม่ การปรับปรุงสายการผลิต ซึ่งผลประกอบการนี้ ก็เป็นเพียงตัวเลขของบริษัทหนึ่ง ในอีกหลายบริษัทของ Nissan ในเมืองไทย เพียงแต่ Nissan Motor ประเทศไทย ถือว่าเป็นบริษัทหลัก ของกลุ่มบริษัททั้งหมด
อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้ว ว่าตัวเลขติดลบที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดจากการลงทุนใหม่ ที่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท แต่เมื่อเราดูผลประกอบการในปีก่อนหน้านั้น ย้อนหลังไปอีก 5 ปี จะพบว่า Nissan มีตัวเลขผลประกอบการเป็นลบ หรือขาดทุนแทบจะทุกปี โดยในปี 2562 บริษัทขาดทุน ราว 1,003 ล้านบาท ปี 2561 ขาดทุนสูงถึง 4,814 ล้านบาท ปี 2560 ขาดทุน 2,767 ล้านบาท แต่ปี 2559 บริษัทมีกำ
ไร แต่ไม่มากนัก ที่ 1,837 ล้านบาท โดยในปี 2558 บริษัทขาดทุนสูงถึง 4,122 ล้านบาท รวม 6 ปีล่าสุด บริษัทขาดทุนสะสมไปแล้ว ถึง 18,081,838,675 บาท ที่น่ากังวลก็คือ ในปีนี้และปีหน้า สถานการณ์โดยรวม ก็อาจจะยังไม่ดีขึ้น เพราะกำลังซื้อของประชาชน จะตกลงไปมากกว่านี้ จากสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย และผลกระทบของโรคโควิด 19
และการที่บริษัท อยู่ในสภาวะขาดทุนสะสมอย่างหนัก จึงไม่น่าแปลกใจ ที่เรามักจะไม่ค่อยได้เห็น การทำตลาดรถยนต์จาก Nissan มากเหมือนกับค่ายรถยนต์อื่นๆ เนื่องจากมีข้อกำจัดในเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้ ในทางกลับกัน หากรุ่นรถยนต์ที่เปิดตัว แต่ไม่สามารถสร้างยอดขาย ได้ตามที่วางเอาไว้ เงินรายได้และกำไร ก็จะน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งส่งผลกระทบกลับไป ที่ตัวเลขผลประกอบการ ซึ่งเป็นปัญหาแบบงูกินหาง การตัดกิจกรรมทางการตลาด ที่ไม่จำเป็นออกไป หรือมีน้อยกว่ามาตรฐาน นอกจากจะทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์ ถูกรับรู้น้อยลงไปแล้ว ยอดขายที่ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะลดลงตามไปด้วย หรือส่งผลเสีย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ได้ส่งผลต่อเนื่องไปอีกในหลายด้าน เช่น มีคนพบเห็นรถรุ่นนั้นบนถนนน้อยลง หรืออาจจะแทบไม่เคยเห็นเลย ทำให้ความเชื่อมั่นของกลุ่มเป้าหมายลดลง สินค้าและอะไหล่ในสต็อก ไม่มีการระบายออกเป็นเวลานาน ทำให้เสียค่าใช้จ่าย ในการดูแล และบำรุงรักษา สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทและตัวแทนจำหน่ายน้อยลง เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นปัญหา ที่จะวกกลับมาทำให้ยอดขายของ navara ลดต่ำลงไปอีก ไม่ช้าก็เร็ว
อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจด้วยผลประกอบการขาดทุนมหาศาลนี้ คงไม่มีใครรู้ดีไปกว่า Nissan ว่าปัญหาต่างๆที่มี เกิดขึ้นจากสิ่งใด และควรจะต้องแก้ไขอย่างไรต่อไป เราในฐานะผู้ติดตามข่าวสาร และผู้ใช้รถยนต์ Nissan ทุกคน คงทำได้เพียงแค่ให้กำลังใจ Nissan ประเทศไทยต่อไป เพราะเราทุกคน ก็กำลังประสบปัญหาในด้านเศรษฐกิจและสุขภาพ ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้เช่นกัน