Toyota Isuzu

Toyota-Isuzu ยังนำห่าง! ยอดขายรถยนต์ของไทย เดือนพฤศจิกายน 2563 (2020)

ยอดขายรถยนต์ของไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 (2020) จากรายงานสถิติการขายของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

Brandพฤศจิกายน 2563เปอร์เซ็นต์
 SalesShare(%)
Toyota28,19135.605
Isuzu17,57722.2
Honda8,90811.251
Mitsubishi6,0507.641
Mazda4,0345.095
Nissan3,8364.845
Ford3,3104.181
MG3,0213.816
Suzuki2,4123.046
Hino9741.23
Hyundai2740.346
Subaru2490.314
KIA1300.164
Lexus880.111
Peugeot600.076
Porsche360.045
CP FOTON120.015
TATA80.01
SsangYong50.006
Chevrolet20.003
Alfa Romeo00
Aston Martin00
Audi00
B.M.W.00
Bentley00
Benz00
Changan00
Chery00
Chrysler00
Citroen00
Daewoo00
Daihatsu00
Daimler00
DFM00
Ferrari00
Foton00
Hummer00
IVECO00
JAC00
Jaguar00
Lamborghini00
Land Rover00
Lotus00
MAN00
Maserati00
Maxus00
McLaren00
MG00
Mini00
Mitsu-Fuso00
Mitsuoka00
NAZA00
Nissan Diesel00
Polarsun00
Proton00
Rolls Royce00
Rover00
Saab00
Scania00
Seat00
Skoda00
Volkswagen00
Volvo00
WuLing00
Total79,177  

ประเด็นสำคัญ 

        ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายนมีปริมาณการขาย 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 7.2% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าภาพรวมของตลาดในเดือนนี้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆในประเทศกำลังไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ โครงการ “คนละครึ่ง” และราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ กำลังซื้อของผู้บริโภคในหลายจังหวัดปรับตัวดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์ 

        ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 11 เดือน มีปริมาณการขาย 688,057 คัน  ลดลง 24.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 34.5% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 18.3% เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นยังส่งผลไปทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐฯ ยังคงออกมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนรวมถึงเศรษฐกิจไทยให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ นอกจากนี้ในด้านของตลาดรถยนต์ บรรดาค่ายรถยนต์ต่างๆยังคงมอบข้อเสนอพิเศษ รวมถึงนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ และปรับปรุงใหม่ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 37 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมมีทิศทางที่ดีขึ้น

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2563

1.     ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า28,279 คัน
เพิ่มขึ้น 4.0%
ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
17,577 คัน
เพิ่มขึ้น 20.2%
ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า8,908 คัน
เพิ่มขึ้น 0.2%
ส่วนแบ่งตลาด  11.3%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,437 คัน ลดลง 7.2%         

อันดับที่ 1 โตโยต้า
7,420 คัน
ลดลง 23.6%
ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า
7,376 คัน
เพิ่มขึ้น 9.3%
ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า2,746 คัน
ลดลง 6.7%
ส่วนแบ่งตลาด  10.8%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 53,740 คัน เพิ่มขึ้น 8.2% 

อันดับที่ 1 โตโยต้า
20,859 คัน
เพิ่มขึ้น 19.3%
ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
17,577 คัน
เพิ่มขึ้น 20.2%
ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ3,727 คัน
เพิ่มขึ้น 5.5%
ส่วนแบ่งตลาด  6.9%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 42,763 คัน เพิ่มขึ้น 6.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
17,305 คัน
เพิ่มขึ้น 10.7%
ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
16,578 คัน
เพิ่มขึ้น 24.0%
ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
3,727 คัน
เพิ่มขึ้น 5.5%
ส่วนแบ่งตลาด 8.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,318 คัน
โตโยต้า 2,766 คัน – อีซูซุ 1,108 คัน – มิตซูบิชิ 838 คัน – ฟอร์ด 465 คัน – นิสสัน 141 คัน  

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 37,445 คัน เพิ่มขึ้น 3.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
15,470 คัน
เพิ่มขึ้น 21.5%
ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
14,539 คันเพิ่มขึ้น 3.5%
ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
2,889 คัน
เพิ่มขึ้น 6.7%
ส่วนแบ่งตลาด 7.7%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2563

1.   ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 688,057 คัน ลดลง 24.7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
211,119 คัน
ลดลง 30.3%ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ158,277 คัน
เพิ่มขึ้น 3.8%ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
82,966 คัน
ลดลง 28.7%ส่วนแบ่งตลาด 12.1%

2.  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 236,659 คัน ลดลง 34.5%       

อันดับที่ 1 ฮอนด้า
69,041 คัน
ลดลง 22.7%
ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
59,341 คัน
ลดลง 44.9%
ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน
24,666 คัน
ลดลง 25.7%
ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

3.  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 451,398 คัน ลดลง 18.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
158,277 คัน
เพิ่มขึ้น 3.8%
ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
151,778 คัน
ลดลง 22.3%
ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
31,541 คัน
ลดลง 29.5%
ส่วนแบ่งตลาด 7.0%

4.  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 357,947 คัน ลดลง 19.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
146,901 คัน
เพิ่มขึ้น 6.1%
ส่วนแบ่งตลาด 41.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
129,512 คัน
ลดลง 25.8%
ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
31,541 คัน
ลดลง 29.5%
ส่วนแบ่งตลาด8.8%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 37,064 คัน
โตโยต้า 17,033 คัน – มิตซูบิชิ 8,224 คัน – อีซูซุ 5,333 คัน – ฟอร์ด 4,487 คัน – นิสสัน 1,315 คัน –เชฟโรเลต 672 คัน

5.  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 320,883 คัน ลดลง 18.2%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
141,568 คัน
เพิ่มขึ้น 9.1%
ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
112,479 คัน
ลดลง 25.3%
ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
23,317 คัน
ลดลง 28.3%ส่วนแบ่งตลาด 7.3%

Leave a Reply