ยอดขายรถยนต์ มิถุนายน 2565

ยอดขายรถยนต์ล่าสุด มิถุนายน 2565 และ 6 เดือนแรกของปี

โตโยต้าแถลงยอดขายตลาดรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2565 พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมอยู่ที่ 880,000 คัน

มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2565 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2565 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565

มร.ยามาชิตะ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่อยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางปัญหาการขาดแคลน      เซมิคอนดัคเตอร์ ที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลโดยตรงต่อยอดการผลิตและต้นทุนการผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและการส่งออก รวมทั้งแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่ยังปรับตัวสูงขึ้นและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้กำลังการซื้อของผู้บริโภคยังฟื้นตัวได้อย่างจำกัด ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม

อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยบวกจากการที่ภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และการดำเนินมาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวภายในประเทศ  รวมถึงสัดส่วนของการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ ทำให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เกือบเป็นปกติ ล้วนเป็นส่วนช่วยให้สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนมายังตลาดรถยนต์ด้วยเช่นกัน เห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์จากงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ที่ผ่านมา ตลอดจนแรงกระตุ้นจูงใจผู้บริโภคด้วยแคมเปญการขายเชิงรุกของบรรดาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย ล้วนมีส่วนผลักดันตลาดรถยนต์โดยรวมให้ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ตัวเลขยอดขายตลาดรวมในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 427,303 คัน เพิ่มขึ้น 14.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว”

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศ  ม.ค. – มิ.ย. 2565ยอดขายปี 2565เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2564
ปริมาณการขายรวม427,303 คัน    +14.5 %
รถยนต์นั่ง135,900 คัน    +12.9 %
รถเพื่อการพาณิชย์291,403 คัน    +15.3 %
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)227,842 คัน    +15.7 %
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)198,256 คัน   +17.3 %

“สำหรับผลการดำเนินงานของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 มียอดขายโดยรวมเพิ่มขึ้น 21.2% หรือ  คิดเป็นจำนวน 142,032 คัน มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 33.2% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่เราสามารถกลับมาดำเนินการผลิตและส่งมอบรถให้ลูกค้าได้มากขึ้นภายหลังจากที่ได้มีมาตรการผ่อนคลายการล็อคดาวน์ ตลอดจนความต้องการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของลูกค้ามีเพิ่มมากขึ้น และความสำเร็จจากการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่เมื่อช่วงต้นปีในรุ่น Toyota Veloz ที่มียอดขายเฉลี่ยกว่า 1,000 คันต่อเดือน ทำให้โตโยต้าสามารถครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ได้ทั้ง ตลาดรถอีโคคาร์ และ ตลาดรถยนต์นั่งขนาดกลาง”

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า  ม.ค. – มิ.ย. 2565ยอดขายปี 2565เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2564ส่วนแบ่งตลาด
ปริมาณการขายรวม142,032 คัน   +21.2 %33.2 %
รถยนต์นั่ง38,894 คัน   +30.9 %28.6 %
รถเพื่อการพาณิชย์103,138 คัน   +17.9 %35.4 %
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)89,232 คัน   +20.4 %39.2 %
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)75,766 คัน   +22.5 %38.2 %

สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2565 มร.ยามาชิตะคาดการณ์ว่า “จากมาตรการผ่อนคลายและการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับไปในทิศทางที่ดีขึ้น และจะส่งผลบวกต่อทิศทางของตลาดรถยนต์ในปีนี้ ทำให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะสามารถฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2565 จะอยู่ที่ 880,000 คัน เพิ่มขึ้น  16% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2565ยอดขาย ประมาณการปี 2565เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2564
ปริมาณการขายรวม880,000 คัน    +16 %
รถยนต์นั่ง290,500 คัน    +15 %
รถเพื่อการพาณิชย์589,500 คัน    +16 %

มร.ยามาชิตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโตโยต้า เรามีเป้าหมายการขายในปี 2565 อยู่ที่ 290,000 คัน เพิ่มขึ้น 21 % จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ 33% โดยเราเชื่อมั่นว่าแผนการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงแนวทางในการทำกิจกรรมทางการตลาดและการบริการที่เราพยายามมุ่งเน้นให้สามารถเข้าถึงและใกล้ชิดกับลูกค้าโตโยต้าได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศ จะมีส่วนช่วยให้เราได้รับความเชื่อมั่นและการสนับสนุนจากลูกค้าเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายของเราได้เป็นผลสำเร็จ”    

ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2565ยอดขาย ประมาณการปี 2565เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2564ส่วนแบ่งตลาด
ปริมาณการขายรวม290,000 คัน     +21 %33.0 %
รถยนต์นั่ง82,000  คัน     +31 %28.2 %
รถเพื่อการพาณิชย์208,000 คัน     +17 %35.3 %
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)179,700 คัน     +19 %38.8 %
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)152,200 คัน     +18 %38.5 %

สำหรับปริมาณการส่งออกของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 บริษัทฯได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 179,730 คัน เพิ่มขึ้น 24.4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา  โดยยอดการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 308,734 คัน เพิ่มขึ้น 19.5% จากปีที่แล้ว

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของโตโยต้า ม.ค. – มิ.ย. ปี 2565ปริมาณปี 2565เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2564
ปริมาณการส่งออก179,730 คัน    +24.4%
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ308,734 คัน+19.5%

ทั้งนี้สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 380,000 คัน เพิ่มขึ้น 29.8 % จากปีที่แล้ว จากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2565 มีแนวโน้มดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยอยู่ที่ระดับ 659,400 คัน หรือเพิ่มขึ้น 28.3 % จากปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการขายของทั้งในประเทศและส่งออก

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของโตโยต้าปี 2565ปริมาณปี 2565เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2564
ปริมาณการส่งออก380,000 คัน     +29.8 %
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ659,400 คัน+28.3 %

มร.ยามาชิตะ ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า “ตามที่โตโยต้าได้มีการประกาศเจตนารมณ์ไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ว่าปีนี้ถือเป็นวาระสำคัญที่โตโยต้าครบรอบ 60 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยเรายังคงมุ่งมั่นที่จะส่งมอบความสุขให้กับคนไทยและเติบโตเคียงคู่ไปกับสังคมไทย ด้วยวิสัยทัศน์ใหม่กับการเป็น “ผู้นำพาการขับเคลื่อนยุคใหม่ เพื่อเสริมสร้างความสุขของผู้คน และความยั่งยืนของสังคม” โดยในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เราได้มีการดำเนินงานตามแนวทางพันธกิจใหม่ของเราในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งมอบความสุขให้แก่คนไทย

ในด้านผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับลูกค้า เราได้มีการเปิดตัวโครงการ TOYOTA ALIVE ที่เป็นจุดศูนย์รวมประสบการณ์แห่งความสุข ด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีและบริการต่างๆของโตโยต้าได้อย่างครบวงจร เป็นแหล่งรวมกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์ร่วมกับลูกค้าให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการร่วมมือกับหลากหลายพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อนำเสนอการให้บริการในรูปแบบต่างๆแก่ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยี Connected มาใช้ผ่าน Digital Platform เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในทุกด้าน     ในรูปแบบของ “Mobility as a Service” – MaaS ให้กับลูกค้า และนำเสนอเป็นบริการเพื่อมอบประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้าในทุกด้าน อาทิ ความปลอดภัย ประหยัด สะดวกสบาย และตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

ในด้านสังคม โตโยต้ามุ่งเน้นการขับเคลื่อนสังคมไทย สู่ “ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมทั้งเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่ดี ตลอดจนความพยายามมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งถือเป็นพันธกิจสำคัญของกลุ่มโตโยต้าทั่วโลก ผ่านการดำเนินกิจกรรมในด้านต่างๆ อาทิ เช่น โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะร่วมกับเมืองพัทยา ซึ่งโตโยต้าได้มีการนำรถยนต์พลังงานสะอาดทุกรูปแบบไปทดลองให้บริการเพื่อตอบสนองการเดินทางที่มีความหลากหลายแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยา และมีแผนที่จะขยายผลการดำเนินงานเต็มรูปแบบในช่วงปลายปีนี้ รวมทั้งขยายผลการดำเนินงานของโครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ ในการเปิดศูนย์การเรียนรู้แห่งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงราย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการปรับปรุงธุรกิจแก่วิสาหกิจชุมชนในภาคเหนือ นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในการดำเนินโครงการ “การพัฒนาทักษะบุคลากรภายใต้ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย” ในการพัฒนาความรู้ ทักษะ และศักยภาพ ให้แก่บรรดาบุคลากรต่างๆ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ยุคใหม่ ตลอดจนการกิจกรรมยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนนของโครงการ “โตโยต้า ถนนสีขาว” กับแผนการลดอุบัติเหตุทางท้องถนน โดยปรับปรุงจุดเสี่ยงจำนวน 60 จุด ทั่วประเทศ เป็นต้น”

โตโยต้า ร่วมขับเคลื่อนอนาคต

  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2565
  • ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 67,952 คัน เพิ่มขึ้น 4.6%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า      21,026 คัน      ลดลง       5.9%         ส่วนแบ่งตลาด 30.9%

อันดับที่ 2 อีซูซุ          20,146 คัน      เพิ่มขึ้น     42.9%        ส่วนแบ่งตลาด 29.6%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      4,815 คัน       เพิ่มขึ้น     22.1%        ส่วนแบ่งตลาด  7.1%

  •  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 19,598 คัน ลดลง 13%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า      5,884 คัน       เพิ่มขึ้น     8.7%          ส่วนแบ่งตลาด 30.0%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า      2,518 คัน       ลดลง     60.8%          ส่วนแบ่งตลาด 12.8%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      2,068 คัน        ลดลง     34.3%          ส่วนแบ่งตลาด 10.6%

  • ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 48,354 คัน เพิ่มขึ้น 13.9%                              

อันดับที่ 1 อีซูซุ                    20,146 คัน      เพิ่มขึ้น    42.9%         ส่วนแบ่งตลาด 41.7%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      15,142 คัน      ลดลง     10.5%         ส่วนแบ่งตลาด 31.3%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,756 คัน       เพิ่มขึ้น    1.3%           ส่วนแบ่งตลาด  5.7%

  • ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

ปริมาณการขาย 37,619 คัน เพิ่มขึ้น 13.4%                 

อันดับที่ 1 อีซูซุ           18,640 คัน     เพิ่มขึ้น   48.4%         ส่วนแบ่งตลาด 49.5%

อันดับที่ 2 โตโยต้า       12,629 คัน     ลดลง    12.7%         ส่วนแบ่งตลาด 33.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด           2,756 คัน     เพิ่มขึ้น    1.3%           ส่วนแบ่งตลาด  7.3%

                               ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,186 คัน

อีซูซุ 1,564 คัน – โตโยต้า 1,454 คัน – มิตซูบิชิ 671 คัน – ฟอร์ด 396 คัน – นิสสัน 101 คัน

 5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 33,433 คัน เพิ่มขึ้น 13.9%                 

อันดับที่ 1 อีซูซุ           17,076 คัน     เพิ่มขึ้น     49.5%        ส่วนแบ่งตลาด 51.1%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      11,175 คัน     ลดลง      12.0%         ส่วนแบ่งตลาด 33.4%

                   อันดับที่ 3 ฟอร์ด           2,360 คัน     เพิ่มขึ้น       1.3%        ส่วนแบ่งตลาด  7.1%

  • สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2565

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 427,303 คัน เพิ่มขึ้น 14.5%                              

              อันดับที่ 1 โตโยต้า      142,032 คัน     เพิ่มขึ้น      21.2%       ส่วนแบ่งตลาด 33.2%

              อันดับที่ 2 อีซูซุ                   109,889 คัน     เพิ่มขึ้น      18.0%       ส่วนแบ่งตลาด 25.7%

              อันดับที่ 3 ฮอนด้า      40,161 คัน     ลดลง        6.0%        ส่วนแบ่งตลาด  9.4%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 135,900 คัน เพิ่มขึ้น 12.9%                                

        อันดับที่ 1 โตโยต้า       38,894 คัน      เพิ่มขึ้น       30.9%      ส่วนแบ่งตลาด 28.6%

        อันดับที่ 2 ฮอนด้า      29,574 คัน      ลดลง        19.2%       ส่วนแบ่งตลาด21.8%

        อันดับที่ 3 มาสด้า       12,111 คัน      เพิ่มขึ้น      11.2%       ส่วนแบ่งตลาด  8.9%

3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 291,403 คัน เพิ่มขึ้น 15.3%                    

อันดับที่ 1 อีซูซุ          109,889 คัน     เพิ่มขึ้น      18.0%       ส่วนแบ่งตลาด 37.7%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      103,138 คัน     เพิ่มขึ้น      17.9%       ส่วนแบ่งตลาด 35.4%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      16,292 คัน     เพิ่มขึ้น     11.8%        ส่วนแบ่งตลาด  5.6%

        4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

    ปริมาณการขาย 227,842 คัน เพิ่มขึ้น 15.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ           101,439 คัน     เพิ่มขึ้น      19.3%       ส่วนแบ่งตลาด 44.5%

อันดับที่ 2 โตโยต้า      89,232 คัน     เพิ่มขึ้น      20.4%       ส่วนแบ่งตลาด 39.2%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      16,168 คัน     เพิ่มขึ้น     13.7%       ส่วนแบ่งตลาด  7.1%

                               ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 29,586 คัน

โตโยต้า 13,466 คัน – อีซูซุ 9,095 คัน – มิตซูบิชิ 4,154  คัน – ฟอร์ด 2,246 คัน –  นิสสัน 625 คัน

5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 198,256 คัน เพิ่มขึ้น 17.3%

อันดับที่ 1 อีซูซุ             92,344 คัน   เพิ่มขึ้น        22.1%     ส่วนแบ่งตลาด 46.6%

อันดับที่ 2 โตโยต้า        75,766 คัน   เพิ่มขึ้น       22.5%       ส่วนแบ่งตลาด 38.2%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด          12,655 คัน    ลดลง         8.0%       ส่วนแบ่งตลาด  6.4%