ราคารถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลงไปได้อีกมาก เมื่อบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า อันดับ 1 ของโลก กำลังก้าวเข้าสู่การผลิตแบตเตอรี่แบบโซเดียมเจนเนอเรชั่นที่ 2 ที่ดีกว่าและถูกกว่าแบตตอรี่ในยุคปัจจุบัน คาดจะเข้ามากินตลาดแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือให้ระยะทางวิ่งที่สั้น ได้มากถึง 20-30%
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนCATLได้ประกาศเปิดตัวแบตเตอรี่โซเดียมรุ่นที่สอง ในงาน World Young Scientists Summit หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ Wu Kai เปิดเผยถึงการพัฒนาแบตเตอรี่ดังกล่าว พร้อมเผยว่าจะสามารถเปิดตัวแบตเตอรี่ชนิดนี้ได้ในปี 2025
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างแบตเตอรี่โซเดียมไอออนรุ่นที่สองกับแบตเตอรี่รุ่นเก่าคือรุ่นที่สองสามารถปล่อยประจุได้ในอุณหภูมิที่ต่ำมากได้ถึง -40°C นอกจากนี้ แบตเตอรี่ยังมีประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยที่ดีกว่า และทนต่ออุณหภูมิต่ำในขณะที่ยังคงความหนาแน่นของพลังงานไว้ได้
ปัจจุบันยังไม่มีรายงานความหนาแน่นของพลังงานอย่างเป็นทางการ ของแบตเตอรี่โซเดียมไอออนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า CATL ตั้งเป้าที่จะให้เกิน 200 วัตต์ชั่วโมง/กก. แม้ว่าแบตเตอรี่รุ่นนี้น่าจะเปิดตัวได้ในปี 2025 แต่คาดว่าจะผลิตเป็นจำนวนมากในเชิงพาณิชย์ จะทำได้ในปี 2027
หลักการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนนั้นคล้ายคลึงกับหลักการของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน โดยแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนจะกักเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้สำหรับการเคลื่อนที่ของไอออนระหว่างขั้วบวกและขั้วลบ ปัจจุบัน แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนมีคุณสมบัติที่ดีกว่าในแง่ของความปลอดภัยและความต้านทานต่ออุณหภูมิต่ำ อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนไม่มีความหนาแน่นของพลังงานสูงเท่าแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน จึงทำให้แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน มีข้อได้เปรียบในการใช้งานในพื้นที่หนาวเย็น
ในทางทฤษฎีแล้ว มันควรจะมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนด้วย แต่ปัจจุบัน แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนมีราคาแพงกว่าแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน สาเหตุหลักมาจาก economies of scale สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ในขณะที่แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนยังผลิตได้ในปริมาณที่น้อยกว่า และมีประสิทธิภาพน้อยกว่า นอกจากนี้ ราคาลิเธียมที่ลดลงในช่วงไม่นานมานี้ ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดนี้ด้วย
เมื่อต้นปีนี้ผู้บริหารBYDแถลงข่าวว่า “การพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนของ BYD ได้เข้าสู่ขั้นที่สองที่เกี่ยวกับการลดต้นทุน และคาดว่าต้นทุน BOM (รายการวัสดุ) จะเทียบเท่ากับแบตเตอรี่ลิเธียมไออนฟอสเฟตในปี 2025 และจะน้อยกว่า 70% ของแบตเตอรี่ลิเธียมไออนฟอสเฟตในระยะยาว”
CATL สาธิตแบตเตอรี่โซเดียมไอออนรุ่นแรกในปี 2021 ซึ่งดึงดูดความสนใจจากสื่ออย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความหนาแน่นของพลังงานสูง สามารถชาร์จได้เร็ว มีเสถียรภาพทางความร้อนที่ยอดเยี่ยม และมีประสิทธิภาพในการทำงานที่อุณหภูมิต่ำที่ดี ในตอนนั้น Robin Zeng ซีอีโอของ CATL กล่าวว่า เป้าหมายด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับแบตเตอรี่โซเดียมไอออนรุ่นถัดไป คือให้มีความหนาแน่นของพลังงานมากกว่า 200 วัตต์ชั่วโมง/กก.
ยังไม่ชัดเจนว่าแบตเตอรี่โซเดียมได้ถูกใช้ในสถานการณ์จริงมากแล้วเพียงใด อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าCheryและJACได้เปิดตัวรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ดังกล่าวไปแล้ว และ Aida และ Yadea ก็ใช้แบตเตอรี่ดังกล่าวในสกู๊ตเตอร์เช่นกัน
รายงานอ้างว่าแบตเตอรี่โซเดียมไอออนรุ่นที่สองของ CATL จะมาแทนที่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟตในยานพาหนะขนาดเล็กหรือให้ระยะวื่งที่สั้นได้ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์
ในเดือนมกราคม 2024 BYD (Xuzhou) เริ่มก่อสร้างโครงการผลิตแบตเตอรี่โซเดียมไอออนที่มีกำลังการผลิตต่อปี 30 GWh โดยในเบื้องต้น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตแบตเตอรี่ที่มีความหนาแน่นของพลังงาน 105 Wh/kg และเพิ่มขึ้นเป็น 130 Wh/kg ซึ่งทำให้การอ้างว่าแบตเตอรี่ CATL รุ่นที่สอง ที่จะมีความหนาแน่น 200 Wh/kg ดูไม่น่าจะเป็นไปได้
ความน่าสนใจของความก้าวหน้าในการพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมไอออนเพื่อรถยนต์ไฟฟ้าในแง่ของผู้บริโภคก็คือ ราคารถยนต์ไฟฟ้าที่จะลดลงในอนาคต จากการเปลี่ยนไปเป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำกว่า แถมยังมีประสิทธิภาพการใช้งานและความทนทานที่ดีกว่าด้วย อีกอย่างเมืองไทยก็อาจจะเป็นฐานการผลิตสำคัญของแบตเตอรี่ชนิดนี้ จากการที่ภาคอีสานของไทยเป็นแหล่งแร่เกลือหินที่มีปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่โซเดียมไอออนด้วย สำหรับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่เป็นพันธมิตรกับ catl ได้แก่ tesla BMW Volkswagen รวมถึง Neta ด้วย