จากกรณีที่มีผู้เสียชีวิต จากการระเบิดของถุงลมนิรภัย ขณะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยืนยันจากการชันสูตรว่า เกิดจากเศษโลหะของชิ้นส่วนถุงลมนิรภัยที่ตกมาตรฐาน ยี่ห้อทาคาตะ (Takata) นั้น สภาองค์กรผู้บริโภคเรียกร้องบริษัทรถยนต์ 8 ยี่ห้อ ให้ทำการเปลี่ยนถุงลมยี่ห้อนี้ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียถึงชีวิต ให้กับผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้ ยังมีรถยนต์ในไทยที่ยังมีการใช้งานอยู่กว่าเกือบเจ็ดแสนคัน ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยอันตรายนี้
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เรียกร้องให้บริษัทรถยนต์ทั้ง 8 บริษัท ได้แก่ ฮอนด้า บีเอ็มดับบลิว นิสสัน โตโยต้า มิตซูบิชิ มาสด้า เชฟโรเลต และฟอร์ด ที่ได้มีการขายรถยนต์รุ่นต่างๆ ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยอันตรายยี่ห้อดังกล่าวในประเทศไทยมากว่าสิบปี เร่งดำเนินการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยให้มีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
เหตุการณ์การเสียชีวิตจากถุงลมนิรภัยยี่ห้อ ทาคาตะ (Takata) เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก และได้มีการเรียกคืนรถจำนวนเกือบ 100 ล้านคัน เพื่อเปลี่ยนถุงลมนิรภัย ตั้งแต่ปี 2551 ส่วนในประเทศไทยนั้น มีการขายรถหลายยี่ห้อ หลากรุ่น กว่า 1.7 ล้านคัน ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยดังกล่าว และได้มีการเรียกคืน เพื่อเปลี่ยนถุงลมไปแล้ว แต่ยังมีรถถึงเกือบเจ็ดแสนคัน ที่ยังไม่ได้รับการเปลี่ยน
เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ขอให้ประชาชนผู้ใช้รถยนต์ยี่ห้อดังกล่าว รีบดำเนินการตรวจสอบว่า รถของตัวเอง เป็นรุ่นที่ต้องถูกเปลี่ยนถุงลมนิรภัยหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ จากหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์สภาองค์กรของผู้บริโภค www.tcc.or.th เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก และเว็บไซต์ www.checkairbag.com
ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธ์ หัวหน้าสาขาวิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมา ในประเทศไทยเคยมีกรณีผู้เสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งจากการชันสูตรยืนยันได้ว่า เป็นการเสียชีวิต จากชิ้นส่วนที่กระเด็นออกมาจากถุงลมนิรภัย หนึ่งในการชันสูตรศพ กรณีเสียชีวิต จากอุบัติเหตุรถยนต์ที่เคยเกิดขึ้น ได้พบบาดแผลผู้เสียชีวิต ฉีกขาดเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3.5 ซม. บริเวณกลางหน้าอกด้านบน ลึกไปจนถึงกระดูกสันหลังช่วงคอ และพบชิ้นส่วนโลหะ ฝังตัวในกระดูกสันหลัง โดยสาเหตุการเสียชีวิต เกิดจากชิ้นส่วนโลหะดังกล่าว ที่ทะลุบริเวณคอและหน้าอกส่วนบน ทั้งนี้ชิ้นส่วนโลหะดังกล่าว มีลักษณะเข้าได้กับชิ้นส่วนของถุงลมนิรภัย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เป็นยี่ห้อทาคาตะ
ชีพ น้อมเศียร ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า กรมฯได้รับรายงาน ปัญหาถุงลมนิรภัยบกพร่องดังกล่าว ตั้งแต่เริ่มมีข่าวการประกาศเรียกคืน (Recall) ในต่างประเทศ และจากการตรวจสอบ พบรถที่มีถุงลมนิรภัยบกพร่องจำนวนทั้งสิ้น 1,725,816 คัน ในปี 2561 กรมฯจึงร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ที่ใช้รถที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยที่บกพร่อง นำรถไปเปลี่ยนชุดถุงลมนิรภัยได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งหลังจากมีการติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถแก้ไขชุดถุงลมนิรภัยไปได้ จำนวน 1,045,336 คัน คิดเป็นร้อยละ 60.6 แต่ยังคงเหลือรถอีกจำนวน 680,480 คัน ที่ยังไม่ได้รับการเปลี่ยน
นอกจากนั้น ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ระบุเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน กำลังเตรียมดำเนินการในระยะที่ 2 คือบูรณาการข้อมูลรถ ที่ยังไม่ได้แก้ไขชุดถุงลมนิรภัย เข้ากับฐานข้อมูลการชำระภาษีของกรมฯ เมื่อรถที่อยู่ในข่ายต้องเปลี่ยนชุดถุงลมนิรภัย ทำการชำระภาษีผ่านช่องทางใดก็ตาม จะมีการแจ้งเตือน ให้นำรถไปเปลี่ยนชุดถุงลมนิรภัยเพื่อความปลอดภัย โดยคาดว่า ระบบจะสามารถใช้งานได้ ภายในปลายปี 2565 นี้ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ จะใช้สื่อช่องทางต่างๆของกรมฯ ในการประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของรถ ได้รับทราบข้อมูลโดยเร็ว ทั้งนี้ เจ้าของรถ สามารถตรวจสอบข้อมูลผ่าน www.checkairbag.com หรือนำรถเข้าไปที่ศูนย์บริการทุกสาขา หรือติดต่อผ่านฝ่ายบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call Center) ของแต่ละบริษัทรถยนต์ หรือติดต่อสายด่วน 1584 เพื่อสอบถามข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ระบุว่า การประกาศเรียกคืน ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2556 และในปี 2561 ได้ร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภค ที่ใช้รถยนต์รุ่นที่ถูกเรียกคืน สามารถเข้าไปรับบริการ เปลี่ยนชิ้นส่วนถุงลม ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งค่าอะไหล่ และค่าแรงในการเปลี่ยนอะไหล่ แม้ว่าจะเป็นรถ ที่ไม่ได้เข้ารับบริการที่ศูนย์บริการเป็นประจำก็สามารถเข้าไปเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ สมาคมฯได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล การจดทะเบียนรถยนต์กับกรมการขนส่งทางบก เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ให้กับบริษัทรถยนต์ สามารถติดต่อเพื่อแจ้งเตือน ให้เจ้าของรถได้ทราบ
นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวอีกว่า การรณรงค์ให้ลูกค้าได้รับทราบ และตรวจสอบรถยนต์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักคือมุ่งหวังส่งต่อความห่วงใยและความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้แก่ลูกค้าทุกคน เพื่อเป็นการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภคให้มีความปลอดภัย และนำไปสู่การยกระดับด้านการบริการ ให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศอย่างยั่งยืน จึงอยากขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนทุกภาคส่วน ช่วยสื่อสารเพื่อให้เข้าถึงคนได้มากที่สุด
ทั้งนี้ หากผู้บริโภคนำรถรุ่นที่มีปัญหา ไปเปลี่ยนถุงลมนิรภัย แต่ถูกเรียกเก็บเงิน หรือไม่สามารถเปลี่ยนสินค้าได้ สามารถร้องเรียนได้ที่ ไลน์สภาองค์กรของผู้บริโภค tccthailand โทรศัพท์ 02 239 1839 อีเมล complaint@tcc.or.th อินบ๊อกซ์เฟซบุ๊ก สภาองค์กรของผู้บริโภค หรือเว็บไซต์ www.tcc.or.th
จากกรณีที่มีผู้เสียชีวิต จากการระเบิดของถุงลมนิรภัย ขณะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยืนยันจากการชันสูตรว่า เกิดจากเศษโลหะของชิ้นส่วนถุงลมนิรภัยที่ตกมาตรฐาน ยี่ห้อทาคาตะ (Takata) นั้น สภาองค์กรผู้บริโภคเรียกร้องบริษัทรถยนต์ 8 ยี่ห้อ ให้ทำการเปลี่ยนถุงลมยี่ห้อนี้ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียถึงชีวิต ให้กับผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้ ยังมีรถยนต์ในไทยที่ยังมีการใช้งานอยู่กว่าเกือบเจ็ดแสนคัน ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยอันตรายนี้
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เรียกร้องให้บริษัทรถยนต์ทั้ง 8 บริษัท ได้แก่ ฮอนด้า บีเอ็มดับบลิว นิสสัน โตโยต้า มิตซูบิชิ มาสด้า เชฟโรเลต และฟอร์ด ที่ได้มีการขายรถยนต์รุ่นต่างๆ ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยอันตรายยี่ห้อดังกล่าวในประเทศไทยมากว่าสิบปี เร่งดำเนินการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยให้มีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
เหตุการณ์การเสียชีวิตจากถุงลมนิรภัยยี่ห้อ ทาคาตะ (Takata) เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก และได้มีการเรียกคืนรถจำนวนเกือบ 100 ล้านคัน เพื่อเปลี่ยนถุงลมนิรภัย ตั้งแต่ปี 2551 ส่วนในประเทศไทยนั้น มีการขายรถหลายยี่ห้อ หลากรุ่น กว่า 1.7 ล้านคัน ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยดังกล่าว และได้มีการเรียกคืน เพื่อเปลี่ยนถุงลมไปแล้ว แต่ยังมีรถถึงเกือบเจ็ดแสนคัน ที่ยังไม่ได้รับการเปลี่ยน
เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ขอให้ประชาชนผู้ใช้รถยนต์ยี่ห้อดังกล่าว รีบดำเนินการตรวจสอบว่า รถของตัวเอง เป็นรุ่นที่ต้องถูกเปลี่ยนถุงลมนิรภัยหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ จากหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์สภาองค์กรของผู้บริโภค www.tcc.or.th เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก และเว็บไซต์ www.checkairbag.com
ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธ์ หัวหน้าสาขาวิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมา ในประเทศไทยเคยมีกรณีผู้เสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งจากการชันสูตรยืนยันได้ว่า เป็นการเสียชีวิต จากชิ้นส่วนที่กระเด็นออกมาจากถุงลมนิรภัย หนึ่งในการชันสูตรศพ กรณีเสียชีวิต จากอุบัติเหตุรถยนต์ที่เคยเกิดขึ้น ได้พบบาดแผลผู้เสียชีวิต ฉีกขาดเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3.5 ซม. บริเวณกลางหน้าอกด้านบน ลึกไปจนถึงกระดูกสันหลังช่วงคอ และพบชิ้นส่วนโลหะ ฝังตัวในกระดูกสันหลัง โดยสาเหตุการเสียชีวิต เกิดจากชิ้นส่วนโลหะดังกล่าว ที่ทะลุบริเวณคอและหน้าอกส่วนบน ทั้งนี้ชิ้นส่วนโลหะดังกล่าว มีลักษณะเข้าได้กับชิ้นส่วนของถุงลมนิรภัย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เป็นยี่ห้อทาคาตะ
ชีพ น้อมเศียร ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า กรมฯได้รับรายงาน ปัญหาถุงลมนิรภัยบกพร่องดังกล่าว ตั้งแต่เริ่มมีข่าวการประกาศเรียกคืน (Recall) ในต่างประเทศ และจากการตรวจสอบ พบรถที่มีถุงลมนิรภัยบกพร่องจำนวนทั้งสิ้น 1,725,816 คัน ในปี 2561 กรมฯจึงร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ที่ใช้รถที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยที่บกพร่อง นำรถไปเปลี่ยนชุดถุงลมนิรภัยได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งหลังจากมีการติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถแก้ไขชุดถุงลมนิรภัยไปได้ จำนวน 1,045,336 คัน คิดเป็นร้อยละ 60.6 แต่ยังคงเหลือรถอีกจำนวน 680,480 คัน ที่ยังไม่ได้รับการเปลี่ยน
นอกจากนั้น ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ระบุเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน กำลังเตรียมดำเนินการในระยะที่ 2 คือบูรณาการข้อมูลรถ ที่ยังไม่ได้แก้ไขชุดถุงลมนิรภัย เข้ากับฐานข้อมูลการชำระภาษีของกรมฯ เมื่อรถที่อยู่ในข่ายต้องเปลี่ยนชุดถุงลมนิรภัย ทำการชำระภาษีผ่านช่องทางใดก็ตาม จะมีการแจ้งเตือน ให้นำรถไปเปลี่ยนชุดถุงลมนิรภัยเพื่อความปลอดภัย โดยคาดว่า ระบบจะสามารถใช้งานได้ ภายในปลายปี 2565 นี้ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ จะใช้สื่อช่องทางต่างๆของกรมฯ ในการประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของรถ ได้รับทราบข้อมูลโดยเร็ว ทั้งนี้ เจ้าของรถ สามารถตรวจสอบข้อมูลผ่าน www.checkairbag.com หรือนำรถเข้าไปที่ศูนย์บริการทุกสาขา หรือติดต่อผ่านฝ่ายบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call Center) ของแต่ละบริษัทรถยนต์ หรือติดต่อสายด่วน 1584 เพื่อสอบถามข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ระบุว่า การประกาศเรียกคืน ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2556 และในปี 2561 ได้ร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภค ที่ใช้รถยนต์รุ่นที่ถูกเรียกคืน สามารถเข้าไปรับบริการ เปลี่ยนชิ้นส่วนถุงลม ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งค่าอะไหล่ และค่าแรงในการเปลี่ยนอะไหล่ แม้ว่าจะเป็นรถ ที่ไม่ได้เข้ารับบริการที่ศูนย์บริการเป็นประจำก็สามารถเข้าไปเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ สมาคมฯได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล การจดทะเบียนรถยนต์กับกรมการขนส่งทางบก เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ให้กับบริษัทรถยนต์ สามารถติดต่อเพื่อแจ้งเตือน ให้เจ้าของรถได้ทราบ
นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวอีกว่า การรณรงค์ให้ลูกค้าได้รับทราบ และตรวจสอบรถยนต์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักคือมุ่งหวังส่งต่อความห่วงใยและความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนให้แก่ลูกค้าทุกคน เพื่อเป็นการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภคให้มีความปลอดภัย และนำไปสู่การยกระดับด้านการบริการ ให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศอย่างยั่งยืน จึงอยากขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนทุกภาคส่วน ช่วยสื่อสารเพื่อให้เข้าถึงคนได้มากที่สุด
ทั้งนี้ หากผู้บริโภคนำรถรุ่นที่มีปัญหา ไปเปลี่ยนถุงลมนิรภัย แต่ถูกเรียกเก็บเงิน หรือไม่สามารถเปลี่ยนสินค้าได้ สามารถร้องเรียนได้ที่ ไลน์สภาองค์กรของผู้บริโภค tccthailand โทรศัพท์ 02 239 1839 อีเมล complaint@tcc.or.th อินบ๊อกซ์เฟซบุ๊ก สภาองค์กรของผู้บริโภค หรือเว็บไซต์ www.tcc.or.th